สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เดินทางไปยังเมืองโซคอร์โร รัฐนิวเม็กซิโก เพื่อพูดคุยกับ ดร. มอสตาฟา ฮัสซานาเลียน อาจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งเป็นผู้นำโครงการใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งก็คือ การใช้นกที่ถูกสตัฟฟ์ไว้มาดัดแปลงเป็นโดรน

Dr. Mostafa Hassanalian, New Mexico Tech, with fake bird drone

ทั้งนี้ การพัฒนาซากนกให้กลายมาเป็นอุปกรณ์การบินไร้คนขับนี้ไม่ต่างกับการพัฒนางานของอุตสาหกรรมการบิน และดร.ฮัสซานาเลียน อธิบายว่า “ถ้าเรารู้วิธีที่นกจัดการพลังงานของพวกมัน เราสามารถนำสิ่งนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมการบินในอนาคต เพื่อประหยัดพลังงานและน้ำมันมากขึ้นได้”

ดร.ฮัสซานาเลียน กล่าวว่า นกสตัฟฟ์ หรือนกที่ตายแล้วสามารถถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นโดรนได้แล้ว โดยสิ่งเดียวที่ต้องทำให้ซากนกกลับมามีชีวิตก็คือ การออกแบบกลไกใส่ในร่างของพวกมันที่มีส่วนประกอบทุกอย่างครบอยู่แล้วทั้งหาง ปีก หัวและตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอยกลับนั่นเอง อาจารย์และนักศึกษาคำนวณน้ำหนัก ความถี่ในการกระพือปีก และมุมกระพือปีกของนกในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่เพื่อสร้างสิ่งที่คล้ายกัน

The experiments by Ph.D. student, Brenden Herkenhoff, helped Hassanalian improve the effectiveness of a longer flight endurance of a taxidermy bird drone.
Facebook/ Dr. Mostafa Hassanalian

“โดยพื้นฐานแล้วหากเราเรียนรู้ว่าพวกมัน นกเหล่านี้ จัดการพลังงานระหว่างกันเองอย่างไร เราสามารถนำพวกมันไปใช้ในอุตสาหกรรมการบินในอนาคตเพื่อประหยัดพลังงานมากขึ้นและประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น” เขากล่าว

Brenden Herkenhoff ปริญญาเอก นักศึกษาที่ New Mexico Tech มุ่งเน้นการวิจัยของเขาเกี่ยวกับแรงบันดาลใจทางชีวภาพ โดยส่วนใหญ่ดูที่การใช้สีและประสิทธิภาพการบินของโดรนและเครื่องบินประเภทต่างๆ

ในขณะที่นักวิจัยคนอื่นๆ คิดว่าสีของนกเป็นวิธีดึงดูดเพื่อนหรือพรางตัว แต่ Herkenhoff กำลังศึกษาว่าสีส่งผลต่อประสิทธิภาพการบินอย่างไร

อย่างไรก็ดี ขณะที่ เทคโนโลยีนี้น่าจะมีประโยชน์การใช้งานได้อย่างมาก ประเด็นการใช้โดรนก็ยังก่อให้เกิดความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งผู้นำของการวิจัยนี้ก็ตระหนักดีถึงประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะมีกลุ่มเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวแสดงความกังวลว่า เทคโนโลยีโดรนอาจถูกนำมาใช้สำหรับการตรวจสอบทางทหารหรือแม้แต่การบังคับใช้ด้านกฎหมาย

อาจารย์ท่านนี้เผยด้วยว่า ตัวเขาและทีมงานจะดำเนินโครงการนี้ต่อไปอีก 2 ปี โดยขั้นตอนถัดไปคือ การหาวิธีที่จะทำให้โดรนบินได้นานขึ้น จากที่ปัจจุบัน โดรนต้นแบบที่สร้างจากนกที่ถูกสตัฟฟ์ไว้สามารถบินได้เพียงแค่ 10 ถึง 20 นาทีเท่านั้น

แต่หลักๆที่อาจารย์กล่าวไว้คือ ต้องการเพื่อที่จะนำมาวิจัยการบิน การอพยพของนกป่าที่กำลังจะศูนย์พันธ์ และวิจัยเพื่อธรรมชาติของสัตว์ป่าเท่านั้น

Source : รอยเตอร์ , NYPOST

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น