มหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนเปิดสถาบัน AI ให้ศึกษาถึงการพัฒนาของจีน
จากประเทศที่ล้าหลังสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก อะไรที่ทำให้จีนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและยาวไกล ปัจจัยที่ทำให้จีนกลายเป็น Silicon Valley ของเอเชีย ประเทศไทยกับการเติบโตของจีนจะได้ประโยชน์อย่างไรและต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร ก้าวต่อไปของจีนที่ต้องจับตามอง
เพราะจำนวนประชากรของประเทศจีนทำให้คนจีนต้องแข่งขัน (Competition) ตั้งแต่เกิด คนจีนจึงกระตือรือร้นในการแข่งขันตลอดเวลา เห็นได้จากแอปพลิเคชั่นของจีนในยุคแรกจะเป็นการก๊อปปี้ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ยุคที่สองจีนจึงมีการพัฒนาแอปฯ เพื่อสร้างความแตกต่าง จากนั้นในยุคที่สามก็พัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมาโดยไม่ต้องก๊อปปี้ใคร และในยุคที่สี่คือการที่หลายประเทศหันมาก๊อปปี้แอปฯ จากจีน
ที่สำคัญจีนยังกล้าทดลอง (Experimentation) เพราะตั้งแต่ที่เติ้งเสี่ยวผิงตั้งเมืองเสิ่นเจิ้นเป็นเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษก็ล้มเหลวมาโดยตลอด แต่จีนใช้หลักเรื่องไหนล้มเหลวรีบแก้ เรื่องไหนสำเร็จรีบขยาย ส่งผลให้บริษัทจีนใช้หลักการนี้เช่นกัน ยิ่งเมื่อมี AI เข้ามาเกี่ยวข้องการนำข้อมูล (DATA) มาทดลองให้เร็ว ทำให้ AI มีความฉลาดมากขึ้นและเร็วขึ้น
การศึกษาภาคพื้นฐานเป็นเพียงขั้นจุดประกายความสนใจของนักเรียนเท่านั้น ดังนั้น เพื่อต่อยอดความสนใจเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยจึงต้องเข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดความรู้และทักษะมากพอจะประกอบวิชาชีพด้วย ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลให้การสนับสนุนเต็มที่ ด้วยการประกาศแผนการให้มหาวิทยาลัยชั้นนำสถาบันค้นคว้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
เมื่อปี 2018 กระทรวงศึกษาธิการของประเทศจีน ประกาศแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดันจีนสู่การเป็นประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมีเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยของจีนเป็นผู้นำความรู้ของเทคโนโลยี AI ภายในปี 2030
แผนดังกล่าวทำให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนตื่นตัวและเริ่มต้นตั้งภาคการเรียนการสอนรวมถึงสถาบันวิจัยด้าน AI โดยเฉพาะโดยตัวอย่างการสนับสนุนที่เกิดขึ้น มีดังนี้
เปิด 2 สาขาวิชาด้าน AI เมื่อปี 2018 มหาวิทยาลัยนานจิงได้เปิดตัว 2 สาขาวิชาใหม่ ได้แก่ Machine Learning and Data Mining และ Intelligence System and Application ซึ่ง Zhou Zhihua อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานจิง กล่าวว่า นับเป็นความจำเป็นอย่างมากที่มหาวิทยาลัยต้องออกหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน AI ใหม่ เนื่องจากหลักสูตรในตอนนี้กว้างเกินกว่าจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเชิงลึกหรือเห็นภาพการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมต่างๆ
จับมือกับภาคธุรกิจเพื่อ Use Case ที่เกิดขึ้นจริง นอกจากเปิดหลักสูตรแล้ว มหาวิทยาลัยนานจิงยังร่วมมือกับเจ้าของ E-Commerce Platform รายใหญ่อย่าง JD.com เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองพัฒนา AI ตามโจทย์และความต้องการที่เกิดขึ้นจริงในภาคธุรกิจ
AI+X จับทุกวิชามารวมกับ AI อีกสถาบันหนึ่งที่น่าสนใจคือมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงซึ่งนำเสนอแนวคิดหลักสูตร AI+X ซึ่งคือการเอา AI ไปผนวกรวมกับวิชาเอกที่คาดว่าจะช่วยต่อยอดการเรียนรู้ด้าน AI ได้ โดยคาดว่าจะช่วยให้มีวิชาเอกเกี่ยวกับ AI เพิ่มขึ้นเป็น 100 รายวิชาภายในปี 2020
หากแยกย่อยลงไปจากจำนวนมหาวิทยาลัยจีนทั้งหมด เป็นมหา’ลัยที่อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ 118 แห่ง
มหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่ 10 แห่ง ติด 50 อันดับแรก ในด้านชื่อเสียงด้านวิชาการ (Academic reputation) จากการสำรวจนักวิชาการชั้นนำทั่วโลก 94,672 คน
มหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่ 25 แห่ง ติด 50 อันดับแรกในด้านจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ (Citations per paper) ซึ่งพิจารณาจากอิทธิพลของงานวิจัยที่ผลิต
ไล่เรียงข่าวความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีต่างๆ ของจีน โดยเฉพาะด้าน Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่จีนประกาศในปี 2017 ว่าจะเป็น ‘ผู้นำด้าน AI ภายในปี 2030’ ก็ย้อนคิดว่า ภาครัฐกับองค์กรธุรกิจอัดฉีดทุนทรัพย์ เปย์ทุนทรัพย์เพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบบไม่ยอมแพ้ชาติใดในโลก ‘สถาบันการศึกษา’ ในจีนก็ต้องมีองค์ความรู้หรือกูรูในระดับแอดวานซ์ด้วยน่ะสิ จึงจะสามารถถ่ายทอดวิชาให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะด้านเทค และเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้ประเทศจีนก้าวล้ำยิ่งขึ้น
Cr: Salika thepaper.cn, imd.org และ xinhuanet.com