Microlearning นอกจากจะได้รับความนิยมในการออกแบบแผนการอบรมต่าง ๆ แล้วในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตของระบบ E-Learning ทำให้เรื่องของ Microlearning ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแนวทางสำคัญในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์อีกด้วย เพราะแทนที่จะใส่เนื้อหาทั้งหมดลงในคลิปวีดีโอเดียว การแบ่งและแยกย่อยเนื้อหาเป็นหลาย ๆ คลิปวีดีโอ กลับส่งผลให้ผู้เรียนนั้นมีแนวโน้มที่จะสนใจการเรียนรู้และจดจำบทเรียนได้มากกว่า

การจัดการเรียนรู้ Microlearning นั้น อันดับแรกควรคำนึงในเรื่องของจุดประสงค์การเรียนรู้ คือควรจะมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจนเพียงหนึ่งหรือสองข้อเท่านั้น โดยต้องผลิตสื่อการเรียนรู้ หรือ การออกแบบแผนการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในรูปแบบ Microlearning เช่น อาจใช้การสาธิตสำหรับเนื้อหาที่ต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน หรือ อาจใช้สถานการณ์จำลองในการอธิบายสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นต้นเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมในเวลาห้าถึงเจ็ดนาที

การศึกษาพบว่าไมโครเลิร์นนิงสามารถเพิ่มอัตราการคงไว้ได้ตั้งแต่ 25% ถึง 60% เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนจะเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญไว้ในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น หลักสูตรไมโครเลิร์นนิงมีอัตราการสำเร็จโดยเฉลี่ย 82% ตามรายงานภายในปี 2021 EdApp ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนไม่เพียงแต่เริ่มต้นหลักสูตรเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จในการจบหลักสูตรด้วย โดยซึมซับความรู้อันมีค่าไปพร้อมกัน 

การออกแบบแผนการสอนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในรูปแบบ Microlearning

เช่น อาจใช้การสาธิตสำหรับเนื้อหาที่ต้องดำเนินการเป็นขั้นตอน หรือ อาจใช้สถานการณ์จำลองในการอธิบายสถานการณ์ต่างๆ เป็นต้นเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมในเวลาห้าถึงเจ็ดนาที

นอกจากนี้ในการนำเสนอเนื้อหากับผู้เรียนนั้น จะต้องทำให้เข้าใจได้ง่าย เหมาะสมกับวัยและบริบทของผู้เรียน รวมถึงสามารถดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจได้ และควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตอบสนองกับบทเรียน โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือมีคำถาม ถามผู้เรียนหลังจากที่ผ่านการเรียนรู้แล้ว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างของการเรียนรู้แบบ Microlearning ที่พบเห็นกันได้โดยทั่วไปได้แก่

** ข้อมูลจากวารสาร Journal of Applied Psychology ได้แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้แบบ Microlearning นั้นทำให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากห้องเรียนไปสู่การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงกว่า 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Software Advice ในหัวข้อที่ว่า The LMS Features that Drive Employee Engagement IndustyView  ที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงาน 385 คนที่เข้ามามีส่วนในการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่าพวกเขาจะใช้เครื่องมือของบริษัทและทำงานในแต่ละวันได้ดีมากขึ้น จากการเรียนหลักสูตรระยะสั้น **

นอกจากนี้การเรียนรู้แบบ Microlearning ยังเป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ประหยัด และสอดคล้องกับการสนับสนุนระบบนิเวศ (Ecosystem) ตามที่ สถาปนิก Ray Jimenez, PhD ซึ่งได้อธิบายไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า 3-minute eLearning ว่าการสร้างหลักสูตรการเรียนรู้แบบ Microlearning นั้นสามารถลดต้นทุนการพัฒนาลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราความเร็วในการพัฒนาเพิ่มขึ้นถึง 300 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ทำให้ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรและพลังงานในการดำเนินงานต่างๆ

ดังนั้น Microlearning จึงมีข้อดีซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าสามารถตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี เพราะปกติแล้วการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในระยะเวลา 5-7 นาทีแรก จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ซึ่งเป็นไปตามประสิทธิภาพการทำงานของสมองมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ การที่ Microlearning ช่วยทำให้เนื้อหามีขนาดเล็กและเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละครั้งในรูปแบบ “พอดีคำ” จึงทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรเอาแนวคิดเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบ Microlearning นั้นไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบแผนการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับผู้เรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือ ทำให้สามารถถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ช่องทางที่เหมาะกับการสร้างการเรียนรู้ในแบบ Microlearning ซึ่งเหมาะสมกับยุคดิสรัปเทคโนโลยี คือ

  • Parallax Scrolling ผู้เล่นสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ผ่านลูกเล่นต่างๆที่ปรากฎขึ้นขณะเลื่อนไปตามเนื้อหา.
  • Infographic ข้อมูลนำเสนอในรูปแบบภาพทำให้ทำความเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้
  • Podcast ผู้เรียนสามารถฟังการพูดคุยแลกเปลี่ยนของผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆได้
  • Gamification ข้อมูลถูกนำเสนอในรูปแบบเกมที่มีระดับขั้น มีการสะสมแต้มและการแข่งขันช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจ
  • Application สามารถอัปเดตข้อมูลความรู้ใหม่ได้ง่าย มีฟีเจอร์การแจ้งเตือนให้ผู้เรียนทราบถึงบทเรียนใหม่ๆได้

source: shiftelearning,techtarget.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *