เด็กก็มีสิทธิ์ในความเป็นส่วนตัวเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ มีกฎหมายสำคัญจำนวนหนึ่งที่ปกป้องสิทธิ์ของเด็กในความเป็นส่วนตัว เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (UN Convention on the Rights of the Child : UNCRC) มาตรา 16 การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งระบุว่า “เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น” (กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ, 2562)

ทำให้คุณครู โรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเตรียมตัวสำหรับความรู้เบื้องต้น ที่จำเป็นต้องรู้

facebook/PDPA Thailand

เหตุผลหลักที่ส่งผลต่อรูปถ่ายบุคคลรวมถึงเด็ก ได้แก่ 1. สถานที่ที่ถ่ายรูป และ 2. จุดประสงค์ของการถ่ายรูป

  • สถานที่ที่ถ่ายรูป : สถานที่สาธารณะ VS สถานที่ส่วนบุคคล โดยทั่วไปการถ่ายรูปบุคคลในสถานที่สาธารณะสามารถกระทำได้อย่างถูกกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ หรือชายหาด หากไม่ได้ถ่ายรูปคนเหล่านั้นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ขณะที่การถ่ายรูปบุคคลในสถานที่ส่วนบุคคล ผู้ถ่ายภาพต้องได้รับอนุญาตในการเข้าสถานที่จากเจ้าของสถานที่ก่อน (ไม่เช่นนั้นอาจโดยข้อหาบุกรุกสถานที่) และการถ่ายรูปก็ต้องขออนุญาตและได้รับความยินยอมจากเจ้าของก่อน เพราะการได้รับอนุญาตให้เข้าสู่สถานที่ไม่ได้หมายความว่าผู้ถ่ายภาพจะมีสิทธิ์ถ่ายและเผยแพร่รูปถ่ายได้ตามต้องการ ดังนั้น แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่มีการแนะนำสำหรับช่างภาพ คือ เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังสถานที่ส่วนบุคคลแล้ว ควรถามว่า “คุณรังเกียจไหมหรือขออนุญาต ถ้าฉขอถ่ายรูปคุณ และ/หรือ ครอบครัวของคุณ?”

ในลักษณะเคสนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ผิด PDPA ค่ะ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรโพสต์ลงไปอย่างยิ่งนะคะคุณพ่อคุณแม่ แม้ว่าจะโพสต์ใน Facebook ส่วนตัวก็ตาม

ซึ่งวิธีแก้ที่ดีที่สุด คือการไม่ถ่ายภาพติดใบหน้าของเด็กคนอื่น แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ให้เบลอภาพใบหน้าของเด็กคนอื่นที่ถูกถ่ายติดนั่นเองค่ะ และอีกวิธีที่แสนง่าย นั่นก็คือ เอารูปภาพนั้นไปขออนุญาตความยินยอมจากอีกฝ่ายนั่นเอง

แต่ถ้าคุณแม่ของเด็กคนนั้นเผลอมาเห็น แล้วไม่พอใจ อยากให้ลบภาพนั้นทิ้ง เราก็ต้องลบภาพนั้นนะคะคุณพ่อคุณแม่ เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกเขานั่นเองค่ะ

  • กล้องวงจรปิดที่ถ่ายลูกของเราในโรงเรียน ไม่ผิด PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นเองค่ะ

แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทางโรงเรียนนำคลิปจากกล้องวงจรปิดไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ และไม่สามารถเปิดให้ผู้ปกครองทุกคนดูได้ ยกเว้น ตอนที่เด็กนักเรียนมีปัญหา แล้วผู้ปกครองต้องการหลักฐานเพื่อสืบหาความจริง ทางโรงเรียนก็ต้องยินยอมให้ผู้ปกครองดูคลิปจากกล้องวงจรปิดนั้นนะคะ

  • ถ่ายลงsocial media เช่น facebook fanpage , TIKTOK ,Youtube  ,Instagram แต่ทางที่ดีที่สุด เพื่อกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง นั่นก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการบอกคนที่อยู่แถวนั้นก่อนว่าจะมีการถ่ายทำ Vlog ไปลงในเพจใดหรือลงยูทูป เพื่อแจ้งให้บุคคลที่อยู่แถวนั้นได้รับทราบ และเตรียมตัว ซึ่งอาจจะบอกผ่านทางวาจาก็ได้เช่นเดียวกัน
  • สถานศึกษาเอารูปเด็กนักเรียนขึ้นป้าย ถือว่าผิดหรือไม่

การที่สถานศึกษาเอารูปนักเรียนขึ้นป้ายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดีหรือนำไปใช้เพื่อโปรโมต จำเป็นจะต้องมีการขอความยินยอมอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณีไป ซึ่งตัวเจ้าของข้อมูล (นักเรียนเจ้าของรูป) สามารถถอนความยินยอมได้ทันที เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจทำให้เกิดความกังวลใจ และความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลด้วย

Cr: pdpa.pro, parentsone, fb/pdpc.th, nstda

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น