ครูมืออาชีพกับการศึกษาไทยยุคสังคมCovid

การศึกษายุคใหม่ที่ทำให้โลและผู้คนต้องปรับตัวรับความเป็นจรอง ชีวิตใหม่วิถิใหม่ หรือนิวนอร์มอลปรากฎของโควิด19

“คุณภาพของเด็ก สะท้อน คุณภาพของครู”

การศึกษายุคนิวนอร์มัล(New normal)นั้นระบบการศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม มีการให้

ความส าคัญกับกระบวนการ รวมถึง well-being ของนักเรียนแบบองค์รวม เกิดการพัฒนาการศึกษาโดยการรับฟัง

เสียงสะท้อนจากทุกระดับ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน บทบาทของผู้สอนคือการสร้างแรงปรารถนาแรงบันดาลใจในการเรียนรู้การชี้แนะให้ผู้เรียนมีจินตนาการ

สร้างสรรค์ให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพของตนเองในการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ การคิดไตร่ตรอง และสร้างองค์ความรู้

ได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบทบาทผู้สอนดังกล่าวนี้เป็นรากฐาน

ทางความคิดเกี่ยวกับการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

cr:freepik

การโค้ชมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละบริบทของการโค้ชชิ่ง การโค้ชในบริบทของการเรียนการสอน (instructional coaching) มีขั้นตอนดังนี้

Feed – up การให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ที่เน้น แรงจูงใจภายใน รวมทั้งการสร้างแรงบันดาลใจ Passion ในการเรียนรู้ ความสนใจใคร่รู้ การเรียนรู้ การ Feed-up ที่ดีจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ เรียนรู้ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ จากการที่ผู้เรียนมีแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และ Passion ในการเรียนรู้

Power questions การใช้พลังคำถาม เป็นการตั้งคำถามเชิงลึกในองค์ความรู้ที่เป็น main concept ของการเรียนรู้หรือสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความ เข้าใจที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้เรียนมีเป้าหมายว่าเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว จะต้องตอบคำถามของผู้สอนให้ได้ซึ่งการตอบคำถามได้ของผู้เรียนนั้น จะเป็นสิ่งสะท้อนว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้แล้ว

Acting & checking การประเมินผู้เรียน เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning processes) ที่หลากหลายและเหมาะสม สอดคล้องกับจุดประสงค์การ เรียนรู้ และพร้อมกันนี้ผู้สอนตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการสังเกตการปฏิบัติการเรียนรู้ของผู้เรียน และให้คำชี้แนะ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ แก่ผู้เรียน ภายหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว เพื่อให้ผู้เรียน มองเห็นจุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการสะท้อนผล การประเมินให้ผู้เรียนมองเห็นว่าตนเองเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ การเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร

Feed – forward การให้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ต่อยอด เป็นการชี้แนะหรือแนะนำผู้เรียนให้ไปเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ต่อยอดจากการเรียนรู้ในครั้งนี้ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีนิสัยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นรากฐานของการเป็น นักสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต

Lesson learned การถอดบทเรียน เป็นการให้ผู้เรียนสะท้อนคิดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ ตลอดจนการตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ระดับ ความสำเร็จของการเรียนรู้ของตนเอง วิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงตนเอง ตลอดจนการกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ที่มี พัฒนาการสูงขึ้นอย่างเหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง ซึ่งการถอดบทเรียนจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (transform) กระบวนการคิดและพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

cr: lpn.mcu

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น