Virtual University หรือ “มหาวิทยาลัยเสมือนจริง” หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนผ่าน “ระบบออนไลน์” แบบครบวงจร โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ หรือเรียกอีกแบบว่า e-Education แนวทางการจัดการศึกษาของไทย”

จากเรื่องที่เคยกลาวถึง  https://edubrights.com/resource/2024/04/17/tuition-free-education/

credits: freepik

E-Education หรือ Virtual University เป็นการผนึกองค์ความรู้ กับเทคโนโลยี ผ่านความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาวิชา

ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT (Information and Communication Technology) ศึกษาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาบูรณาการกันเพื่อพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ และโปรแกรมสำหรับใช้ใน Virtual University  จึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับระบบการจัดการการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ระบบควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนที่เทียบเท่าหรือดีกว่าการเรียนการสอนแบบเดิม

ความแตกต่างระหว่าง Virtual University กับ e-Learning นั้น e-Learning จะมุ่งเน้นที่กระบวนวิชาหนึ่งๆ ส่วน Virtual University จะมุ่งเน้นความเป็น “สถาบันออนไลน์” ที่มีบริการอื่นๆ ประกอบ

อาทิ ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library หรือ e-Library) การลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ การตรวจสอบผลการเรียนผ่านระบบออนไลน์ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อิเล็คทรอนิคส์ หรือ e-Learning Community

Virtual University มี 4 รูปแบบ ประกอบด้วย

1. Virtual University ที่ขยายจากหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ การบริหารจัดการ การกำหนดมาตราฐานของหลักสูตร อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสภามหาวิทยาลัย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2. Virtual University ที่เกิดจากความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาด้วยกัน มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และพัฒนาเนื้อหาวิชาที่มหาวิทยาลัยจะใช้ร่วมกัน

3. Virtual University ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และองค์กรเครือข่าย หรืออาจอยู่ในรูปของบริษัทในภาคเอกชน ที่เล็กเห็นศักยภาพทางการตลาดของการศึกษาระดับอุดมศึกษา

4. Virtual University พัฒนาโดยองค์กรธุรกิจ เป็นการให้บริการด้านการศึกษาออนไลน์โดยภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มุ่งเน้นหลักสูตรการฝึกอบรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้อยู่ในวัยทำงาน

ล่าสุด ได้มีการเปิดตัว University of the People หรือ UoPeople เมื่อปี ค.ศ. 2014 ให้ดำรงตนเป็น “มหาวิทยาลัยที่ปราศจากค่าเล่าเรียน” โดยบัณฑิตผู้จบการศึกษา จะได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล

โดยที่ผ่านมา UoPeople ได้ช่วยให้นักศึกษาประมาณ 140,000 คน จาก 200 ประเทศ สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน

กรณีศึกษาที่สำคัญก็คือ เมื่อครั้งที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน ประชาชนในพื้นที่ต่างต้องทยอยเดินทางออกจากเมืองด้วยความระส่ำสาย ทุกภาคส่วนต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรมด้านการศึกษา

แต่นักศึกษาในประเทศยูเคน สามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ โดยผ่านการอำนวยความสะดวกจาก UoPeople

โดยหลายคนต้องเรียนหนังสือขณะที่อยู่ในหลุมหลบภัย

UoPeople ถือเป็น “มหาวิทยาลัยออนไลน์” แห่งแรกที่ได้รับการรับรองจากสหรัฐฯ แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยที่ “ปราศจากค่าเล่าเรียน” แต่ผู้เรียนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ประมาณ 140-400 ดอลลาร์ต่อการลงทะเบียนรายวิชา

ทำให้ในภาพรวม นักศึกษาจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 ดอลลาร์ เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อเทียบกับค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยของมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐฯ ระยะเวลา 4 ปี อยู่ที่ประมาณ 9,600 ดอลลาร์ต่อปี

เพราะ UoPeople เชื่อว่า การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และทุกคนในโลกควรที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *