Photography depicts Microsoft’s FarmBeats technology uses AI and IoT to help increase farm productivity.

อนาคตของภาคเกษตรมีความสำคัญมากสำหรับประเทศไทย และในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ก้าวสู่ยุคดิจิตอล หรือ 4.0 เทคโนโลยีที่เป็น Mega Trend อันได้แก่ Biotech NanoTech Space Tech Robotic และ Digital ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง (Disrupt) ไปทุกหย่อมหญ้า ถึงเวลาแห่งการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เว้นแม้แต่ภาคเกษตรของไทย” จากคำกล่าวของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์

ดาวเทียมเพื่อการเกษตร (Satellite for Agriculture)
จะเป็นเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างแท้จริง เพราะจะมาตอกย้ำให้รู้ว่าชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปแค่ไหน หลังจากมี Google Map ที่ค้นหาสถานที่ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ซึ่ง Google Map ก็จัดเป็นระบบ Satellite หรือดาวเทียมนั่นเองเพราะฉะนั้นถ้าเราไม่นำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในระบบเกษตรก็เท่ากับว่าเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกแต่ถ้านำดาวเทียมเข้ามาใช้ในระบบเกษตรการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะบอกได้ว่าที่ดินในพื้นที่นั้นเหมาะกับอะไรปัจจุบันระบบดาวเทียมสามารถถ่ายรูปได้ชัดถึงเฉดสีที่ระบุได้ถึงแร่ธาตุสภาพดินและความพร้อมของดินแค่ไหนในเวลาเดียวกันระบบดาวเทียมยังช่วยในการวางแผนเพาะปลูกที่แม่นยำรวมไปถึงการบริหารจัดการด้านการเก็บเกี่ยวและผลผลิตจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนแก้ปัญหา สินค้าเกษตรล้นตลาด และ การอุดหนุนราคาจากภาครัฐ

จากการวิจัยพบว่าโจทย์การสร้าง AI เป็นโจทย์ที่ท้าทายเเละไม่ไกลตัวเกินไปสำหรับเด็กมัธยมถ้าถูกนำมาประยุกต์ให้สนุกเเละเข้าใจได้ง่าย ทีมวิจัยได้เเรงบันดาลใจมาจากเเนวคิดด้าน Constructionism P’s of Creative Learning จาก MIT Media Lab ที่เชื่อว่าการพัฒนาเด็กให้เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ประกอบไปด้วยสี่ปัจจัยคือ Projects (โปรเจค), Passion (ความสนใจใคร่รู้), Play (การเล่น), and Peers (เพือนร่วมเล่น)

ในการทดลองโมเดลใหม่นี้ ได้มีการจัดโครงการ JSPT โดยมีนักเรียนในชั้นมัธยมต้นเข้าร่วม และเรียนรู้การสร้าง Machine learning model : Decision Tree, Neural Network และ k-Nearest Neighbor เพื่อคัดสรรคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร และมีการจัดการแข่งขันและยังหาผู้ชนะจากการรับได้คะแนนสูงสุดในการสร้าง AI โดยการทดลองครั้งนี้ประสบความสำเร็จเเละได้ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่ IEEE

นอกจากนี้ ทางทีมวิจัย ​Cluster ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Biotech ที่จะเข้ามาเป็นปฏิวัติโลกในช่วงศควรรษที่ 21 ซึ่งทุกคนจะสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จาก Biotech อีกทั้งมันจะมีความ ‘ง่าย เร็ว และถูก’ ขึ้นอย่างมาก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้ทำการจัดงาน Hack Biodesign โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (JSTP) ของสวทช โครงการนี้เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมได้ร่วมกันออกแบบ วางแผน โดยการนำเรื่อง Biodigital (วิศวกรรมฮาร์ดแวร์เพื่อใช้กับสิ่งมีชีวิต) Synthetic biology (ชีววิทยาสังเคราะห์) และ Biomimicry มาประยุกต์ใช้ ต่อยอด สร้างสรรค์โปรเจคใหม่ๆ ซึ่งนี่ได้ทำให้เรื่องชีววิทยาที่ดูเป็นที่ได้แค่ศึกษา และสังเกต สามารถมาสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กลายร่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้
Cr:freaklab.org, Salika

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น