World Economic Forum (WEF) ได้ประมาณการว่า ภายในปี พ.ศ. 2568 จะมีงานประมาณ 85 ล้านตำแหน่งถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แต่ก็จะมีงานใหม่เพิ่มขึ้น 97 ล้านตำแหน่ง โดยอาชีพแห่งอนาคตส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล ระบบอัตโนมัติ และจะเป็นการผสมผสานระหว่างทักษะด้านดิจิทัลและการคิดวิเคราะห์ของมนุษย์ซึ่งเทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติได้

อย่างไรก็ดี สำหรับตำแหน่งงานที่มีความสำคัญโดยเฉพาะภายหลังโควิด-19 ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์และนักวิเคราะห์ข้อมูล, ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร, ผู้เชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรหุ่นยนต์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน, ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล, ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการระบบอัตโนมัติ, นักวิเคราะห์ข้อมูลด้านความปลอดภัย, ผู้เชี่ยวชาญด้าน Internet of things ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลายหลาย อาทิ ระบบอัตโนมัติ, เทคโนโลยีคลาวด์, ข้อมูลขนาดใหญ่, Internet of things, การเข้ารหัสข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์, ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น”

ลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2563–2567) โดยมุ่งเน้นตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะสูง และตำแหน่งงานรูปแบบใหม่ และคำนึงถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

พบว่าในระยะ 5 ปีข้างหน้าประเทศไทยมีความต้องการบุคลากรทักษะสูงใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายรวมกว่า 170,000 คน โดยตัวอย่างตำแหน่งงาน เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), Crop Modelling Analyst ในอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ในลักษณะข้ามศาสตร์ และแบบสหวิทยาการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Specialist) ในการท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ทักษะ Soft Skill อื่นๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น ความสามารถในการยืดหยุ่นและการปรับตัว ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงนวัตกรรม ที่นอกจากนี้ยังมีทักษะที่สำคัญแห่งโลกอนาคตอื่นๆ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในเชิงลึก ความฉลาดในการเข้าสังคม ความคิดแปลกใหม่และการประยุกต์ใช้ การทำงานกับคนต่างวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ ความคิดเชิงประมวลผลหรือเชิงระบบ ความเข้าใจและตามทันโลกยุคสื่อดิจิทัล ความสามารถในการคิดออกแบบสร้างสรรค์งาน การจัดการบริหารการรับรู้ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ครั้งแรกที่ทีมวิจัยได้ใช้ประกาศหางาน โดยอ้างอิงข้อมูลทักษะจากฐานข้อมูล Lightcast ที่ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลประกาศรับสมัครงานจากทั่วโลก ก่อนที่จะนำมาสกัดทักษะต่างๆ และได้จัดหมวดหมู่ทักษะออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1. กลุ่มทักษะที่พบได้ทั่วไป (common skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในทุกกลุ่มอาชีพ

2. กลุ่มทักษะเฉพาะ (specialized skill) เป็นกลุ่มทักษะที่พบในเฉพาะกลุ่มอาชีพ และ

3. ใบประกาศนียบัตร (certification) เป็นกลุ่มทักษะที่ต้องมีการทดสอบเพื่อได้บัตรประกาศนียบัตร เช่น TOEIC

สำหรับ กลุ่มทักษะที่พบได้ทั่วไป (common skill) ในทุกตำแหน่งงานและสาขาธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Soft Skill พบว่าทักษะการประสานงานเป็นที่ต้องการมากที่สุด 354,758 ตำแหน่งงาน (27.31%) ตามมาด้วย ทักษะการขาย พบใน 324,272 ตำแหน่งงาน (24.96%) ทักษะการวางแผนงาน 283,399 ตำแหน่งงาน (21.81%) และ การสื่อสาร  180,920 ตำแหน่งงาน  (13.93%)

ส่วนใน กลุ่มทักษะเฉพาะ (specialized skill) พบว่าทักษะการบำรุงรักษา (maintenance) มากที่สุด  193,137 ตำแหน่งงาน (14.87%) การควบคุมเครื่องมือและเครื่องจักร 153,405 ตำแหน่งงาน (11.81%) ทักษะด้านบัญชี 134,062 ตำแหน่งงาน (10.32%) ทักษะจัดซื้อจัดจ้าง 70,266 ตำแหน่งงาน (5.41%) ทักษะด้านการติดตั้ง 58,820 ตำแหน่งงาน (4.53%)

มาใน กลุ่มใบประกาศนียบัตร (certification) พบว่ามีความต้องการผลสอบ TOEIC มากที่สุด 10,413 ตำแหน่งงาน (0.80%) ตามด้วยใบรับรองวิชาชีพเภสัชกรรมตามมาตรฐาน GMP (Pharmaceutical GMP Professional Certification) 7,410 ตำแหน่งงาน (0.57%) และ วุฒิบัตรผู้ตรวจสอบภายใน (Certified Internal Auditor) 3,336 ตำแหน่งงาน (0.26%)

Source : stemplus,

Source : stemplus,

Source : stemplus, tdri.or.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น