Personal data protection source: freepik

PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019)) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  โดยวันที่ 1  มิถุนายน 2565 เป็นวันที่ พ.ร.บ. PDPA นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ลายนิ้วมือ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น และยังให้สิทธิประชาชนในการขอให้ลบ ทำลาย หรือระงับใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้

4 เรื่องที่คนเข้าใจผิดเรื่องเกี่ยวกับ PDPA

  • กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
  • สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
  • ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา

(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ

(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล

(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ

(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป

ในทางกลับกันเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิอะไรบ้าง

              สิทธิในการถอดถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ สิทธิในการได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล  สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้    สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนและไม่ปฏฺิบัติตามกฎหมายหรือประกาศที่ออกตามกฎหมาย PDPA  นอกจากนี้ หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพของเจ้าของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของส่วนบุคคลทราบ และมีแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า

source: BBC

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น