ทีมวิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง พบว่าช่วง 1 ระหว่างปี2020-2029 อยู่ในช่วงพัฒนาAI ช่วงที่ 2 ปี 2030-2049 AI มีความสามารถเท่ามนุษย์ และช่วงที่3 ปี 2050-2060 มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ AI ดังนั้นทำอย่างไรให้คนอยู่รอดในแต่ละช่วงได้ ซึ่งผลวิจัยระบุถึงทักษะที่คนควรมี คือ  ความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารกับมนุษย์ ขณะนี้ธุรกิจในภาคเอกชนเริ่มปรับตัว ในการสัมภาษณ์งานจะวัดทักษะในการแก้ปัญหามากกว่าดูเกรดเฉลี่ย นอกจากนี้ มีคนทำนายไว้ว่าว่า 90%  ผู้ช่วยของคนจะอยู่ในสมาร์ทโฟนของตนเอง ธุรกิจที่ทำคอนเทน์ แพลทฟอร์ม จะอยู่ได้ในอนาคต รวมถึงแอพพลิเคชั่นด้วย ปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้ทำให้คนตกงานเสมอไป แต่กลับสร้างงานใหม่ให้คนในอนาคต เพราะเชื่อว่ามนุษย์อยู่เหนือ AI เพราะมนุษย์มีความคิดที่ลึกซึ้ง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน และจับความรู้สึกของคนได้ดีกว่า แม้เราใช้หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์เข้าไปทำงานที่มีภาวะความเสี่ยงสูง เช่น กู้ภัย เมื่อเจอผู้รอดชีวิต มนุษย์ต้องเป็นคนตัดสินใจหรือสั่งการอีกครั้ง

วงการเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาทักษะ AI ให้เก่งขึ้น เราไม่ควรจะสร้างคนให้เป็น Robot อีก สิ่งที่ หุ่นยนต์ไม่มีคือทักษะด้าน Soft Skills มนุษย์ยังคงมีทักษะที่เหนือกว่า AI ในงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์อยู่ ดังนั้นเราควรที่จะสร้างเด็กให้รู้จักแก้ปัญหา คิดนอกกรอบ รู้จักสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยที่คุณครูจะต้องปรับตัวและพัฒนาเพื่อเด็กๆๆ

Hard Skills หรือทักษะด้านความรู้มีความสำคัญก็จริง แต่จะเป็นในช่วงที่อยู่ในระบบการศึกษา และในช่วงระยะแรกหลังจบการศึกษา เมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน Soft Skills เป็นทักษะที่สำคัญ โดยเฉพาะในด้านการทำงานเป็นทีม

ประเทศไทยยังมีความท้าทายในเรื่องความเหลื่อมลํ้าและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องช่วยกันผลักดันและพัฒนาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม

1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill) คือสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่มีมาประยุกต์และสร้างเป็นไอเดียจำนวนมาก ซึ่งต้องใหม่และสามารถใช้แก้ปัญหาที่แต่ละธุรกิจเจอได้

2. ทักษะการบูรณาการเทคโนโลยี (Integration Skill) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี แอปพลิเคชันที่มีหลากหลาย กระจัดกระจาย มาหลอมรวมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ได้ สามารถมองเป็นคอนเซ็ปต์ที่ตอบสนองทั้งเทคโนโลยี การตลาด และประโยชน์ของสังคม

3. ทักษะแบบอ่อน (Soft Skill) ซึ่งเน้นไปในทางการสื่อสาร การปรับตัว การแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ซึ่งช่วยให้ย่อยข้อมูลจำนวนมากได้ โดยต้องรู้จักตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ ตีความ ประเมินทางเลือกและตัดสินใจ

4. ทักษะการคิดแบบกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า (Value-Added Development Skill) ทำสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น สร้างสรรค์ขึ้น สร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ

5. ทักษะการสร้างความสุข (Well-Being Skill) ที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข โดยทักษะทั้งหมดนี้สามารถประยุกต์เข้ากับทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นในสายเทคโนโลยี การบริการ การท่องเที่ยว การทำธุรกิจ

Cr: Tu.ac.th , Thaipost ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น