เหตุการณ์สังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2492 ได้แก่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์, นายถวิล อุดล, นายจำลอง ดาวเรือง และนายทองเปลว ชลภูมิ์
กลุ่มเสรีนิยมและสังคมนิยมเป็นการรวมตัวอย่างหลวมๆ ของกลุ่มที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ และโดยมากเคยร่วมงานกันในกลุ่มเสรีไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ กลุ่มข้าราชการพลเรือน ทหารเรือ ผู้ประกอบการและนักธุรกิจเอกชน ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พลโทผิน ชุณหะวัน และพวกก็ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทำให้กลุ่มทหารและอำนาจนิยมกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง ในระยะแรกคณะรัฐประหารเชิญนายควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาล ก่อนที่จะจี้ให้นายควงลาออกแล้วเชิญ จอมพล ป. พิบูลสงคราม มาเป็นนายกรัฐมนตรี
หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ซึ่งมี ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำรัฐบาลอาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการจับกุมและกวาดล้างศัตรูทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ดำเนินไปอย่างเข้มข้นกว่าที่ผ่านมา ทองอินทร์, ถวิล, และจำลอง ถูกจับกุมในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ส่วนทองเปลวได้รับโทรเลขลวงจากรัฐบาลแจ้งว่าปฏิบัติการของปรีดีสำเร็จลุล่วงด้วยดีจึงเดินทางโดยเครื่องบินเข้ามาในประเทศไทยและถูกจับกุมตัวในวันที่ 1 มีนาคม ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวในข้อหากบฏ 4 อดีตรัฐมนตรีถูกข่มขู่และกระทำทารุณกรรมจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนการสร้างพยานหลักฐานเท็จขึ้นเพื่อให้รับสารภาพ
4 อดีตรัฐมนตรีซึ่งถูกคุมขังไว้ในที่ต่างๆ นำตัวขึ้นรถเพื่อนำไปคุมขังที่ สถานีตำรวจบางเขน ตำรวจที่ทำหน้าที่ควบคุม 4 อดีตรัฐมนตรีคือ พ.ต.อ.หลวงพิชิตสุรการ เมื่อมาถึงระหว่างกิโลเมตรที่ 14 –15 ถนนพหลโยธิน อดีตรัฐมนตรีซึ่งถูกสวมกุญแจมือ กรมตำรวจอ้างว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากโจรจีนมลายูบุกเข้าแย่งชิงนักโทษ ทำให้ 4 อดีตรัฐมนตรีถูกยิงตาย
ที่มา : เว็บไซต์สถาบันพระปกเกล้า