กล่าวว่า ระบบความจำใช้งานเรียกว่า visuospatial sketchpad หมายถึงแผ่นกระดานเขียนภาพ

ความจำด้านภาพมี 2 ส่วน หนึ่งคือภาพของวัตถุที่เห็น ได้แก่ขนาด รูปทรง สี พื้นผิว สองคือตำแหน่งที่อยู่ ที่ว่างโดยรอบ การเปลี่ยนตำแหน่ง บางตำราจัดให้มีส่วนที่สามด้วยคือความเร็วในการเปลี่ยนตำแหน่ง เหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นความจำด้านภาพ

การเล่านิทานเสริมสร้างจินตนาการแต่ดูเหมือนจะได้ไปเพียงการฝึกฝนความจำด้านเสียง เพราะภาพนั้นมิได้เกิดจากการมองเห็นแต่เกิดจากจินตนาการ

ปัญหาของความจำด้านภาพเป็นเหมือนความจำด้านเสียงตรงที่สามารถเลือนหายไปได้หากไม่มีการทวนซ้ำ

แต่ปัญหาที่หนักหนากว่าคือคนเราไม่มีระบบทวนซ้ำด้านภาพที่ชัดเจนเท่ากับการทวนคำด้านเสียง

เด็กๆ เปล่งเสียงได้แต่ ‘ปล่อยภาพ’ มิได้ พบว่าคุณสมบัติของภาพที่เห็นนั้นเองที่กำหนดความยากง่ายของการจำ

มีงานวิจัยที่พบต่อไปว่าคนเราสามารถจำการออกเสียงที่ไม่ซ้ำกันได้ดีกว่าเสียงที่ซ้ำกัน ข้อค้นพบนี้สร้างความแปลกใจอยู่ไม่น้อยเพราะเรามักคิดว่าเด็กๆ จำคำกลอนได้ดีกว่าถ้อยคำพรรณนา

เช่น ทดลองให้อ่าน “ก ร ย ณ ป ค ฮ ง ธ ฆ” เปรียบเทียบกับให้อ่าน “ไก่ เรือ ยักษ์ เณร ปลา ควาย ฮูก งู ธง ระฆัง” เราพบว่าเมื่ออ่านจบแล้วให้ทวนคำ คนส่วนมากจะจดจำได้มากกว่าหากอ่านแบบหลัง จะเห็นว่านี่มิใช่เรื่องของคำคล้องจองแต่เป็นเรื่องของการให้ภาพแก่เสียง กล่าวคือระบบความจำใช้งานได้จับคู่ให้เสียงและภาพเข้ามาใกล้กันเพื่อง่ายต่อการจำ

มีงานวิจัยที่พบต่อไปว่าคำยาวๆ มักจำยากกว่าคำสั้นๆ ความข้อนี้สอดคล้องกับสามัญสำนึกของคนส่วนใหญ่ และน่าจะเป็นเช่นนี้จริงๆ ในตอนเริ่มต้นของชีวิต

Source : นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

3 Replies to “The Development of Working Memory in Children เขียนโดย Lucy Henry ถูกตีพิมพ์ในปี 2012”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น