คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อแนะนำ 5 วิธีการรับมือ 5 วิธีการป้องกัน เมื่อลูกๆถูกรังแก-กลั่นแกล้งออนไลน์ ระบุการกลั่นแกล้งออนไลน์ (cyber bullying) เป็นเรื่องร้ายๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ยิ่งหากเกิดขึ้นในเด็ก ก็ยิ่งยากที่จะแก้ไข เพราะเด็กยังขาดวิธีการรับมือ และโต้ตอบกับเหตุการณ์
การกลั่นแกล้งออนไลน์ (cyber bullying) เป็นเรื่องร้ายๆที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ยิ่งหากเกิดขึ้นในเด็ก ก็ยิ่งยากที่จะแก้ไขเพราะเด็กยังขาดวิธีการรับมือและโต้ตอบกับเหตุการณ์อย่างถูกต้องประกอบกับการที่เด็กสมัยนี้ ได้รับมือถือและเข้าสู่โลกสื่อออนไลน์เร็วขึ้นโดยขาดวิจารณญาณยับยั้งชั่งใจ ยั้งคิดจากพ่อแม่ ที่มอบมือถือให้ลูกเร็วเกินอายุจึงทำให้มือถือมีมากขึ้นในมือเด็กในวันนี้และกลายเป็นเรื่องที่เด็กๆนำมันไปใช้ในทางที่ผิดและทำร้ายผู้อื่น
เมื่อเด็กถูกรังแก กลั่นแกล้งในโลกความเป็นจริงเด็กๆ สามารถพอที่จะกันตัวเองออกจากพื้นที่กายภาพของที่นั่นได้ เช่น โรงอาหารสนามเด็กเล่น หรือ มีคนอื่นๆ อยู่ในสถานที่แห่งนั้นที่พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือแต่เมื่อเด็กๆ เข้าสู่โลกออนไลน์ สื่อสาร สร้างชีวิตตัวตน ตนเองผ่านมือถือและสื่อสังคมออนไลน์ ไม่มีใครสามารถเข้าไปสอดส่องดู เฝ้าระวังภัยเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาได้ การกลั่นแกล้งออนไลน์จึงทำร้ายจิตใจและสร้างความหวาดกลัวได้มากกว่าการกลั่นแกล้งในโลกความเป็นจริง พ่อแม่ ควรทำอย่างไรเมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์
1. สอนลูกว่า ไม่ให้โต้ตอบกับคนรังแกอย่าเติมเชื้อไฟ เพราะจะยิ่งทำให้คนรังแกสนุก หรือ โกรธ โมโหมากขึ้น และสถานการณ์หรือ ระดับความรุนแรงจะมากขึ้นไปอีกให้ลูกไปแจ้งคุณครู (และพ่อแม่ควรจะรู้ว่าคุณครูคนไหน ในโรงเรียน เข้าใจ และ ตระหนักดีในเรื่องนี้ หากแจ้งคุณครูผิดคนคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จะยิ่งทำให้เด็กที่ถูกแกล้งยิ่งโดนแกล้งมากไปอีก เพราะครูคนนั้น จะคิดว่า การที่เด็กๆ แกล้งกันนั้นเป็นเรื่องปกติ- หรือไม่งั้นก็ไปทำโทษคนแกล้งทันที ทำให้คนแกล้งเจ็บใจ มาแกล้งกลับซ้ำ)คุณครูถ้ามีโอกาสอ่านหรือทำความรู้ ความเข้าใจเรื่องนี้ ก็ควรศึกษาเพราะปัญหานี้ปัจจุบันยกระดับเป็นภัยที่ก่อให้เกิดความซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในเด็กได้ปัจจุบันทั่วโลกพยายามหามาตรการแก้ไขยับยั้งเพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่ครูจะมองว่า ก็เด็กมั่นเล่นกันแกล้งกันเป็นเรื่องปกติของเด็กๆ
2. ออกจากสื่อออนไลน์/บล็อคคนรังแกให้ตอบรับสายโทรศัพท์เฉพาะที่รู้จักเท่านั้น สอนลูกว่า เมื่อโดนแกลังหนักๆสามารถบล็อคคนที่ส่งข้อความเข้ามาแกล้งได้ โดยเฉพาะในระบบเฟซบุ๊ค ไลน์ ไอจี(เด็กควรจะอายุ 13 ปีขึ้นไปจึงจะสามารถมีบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ได้ – หากต่ำกว่า 13 ปีไม่แนะนำให้พ่อแม่ยินยอมให้ลูกเล่นสื่อสังคมออนไลน์ เพราะด้วยวัยและวุฒิภาวะยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันตนเอง)
3. เปลี่ยนบัญชี/ช่องทางติดต่อออนไลน์ใหม่ถ้าพบว่าใครกำลังสวมรอยบัญชีลูกคุณ ให้เปลี่ยนรหัสถ้าใครกำลังสร้างบัญชีลูกคุณเป็นของปลอมให้แจ้งติดต่อบริษัทเจ้าของเว็บและแจ้งว่ากำลังถูกแกล้ง
4. บันทึกทุกหลักฐานการถูกกลั่นแกล้ง อีเมล์ข้อความ รูปภาพ ข้อความเสียง วิดีโอเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน และส่งต่อให้เจ้าหหน้าที่บริษัทต้นทางมือถือ โอเปอเรเตอร์ และตำรวจ
5. อย่าคิดว่าลูกจะเล่าเรื่องถูกแกล้งให้พ่อแม่ฟัง เพราะส่วนมากเด็กมักจะรู้สึกผิด อายหรือกลัวเกินไปที่จะเล่ามันขึ้นมา หรือเกรงว่าพ่อแม่จะดุด่าว่า เพราะแอบเล่นสื่อออนไลน์ทั้งๆที่เคยห้ามไว้ จงพยายามทำให้ลูกสบายใจว่าท่านจะไม่ตัดสินลูก แค่อยากให้ลูกปลอดภัย
วิธีการเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการปกป้องและรับมือในพื้นฐานขั้นต้น
อย่างไรก็ดีการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์จริงๆ นั้นพ่อแม่ควรแก้ตั้งแต่ต้นทาง คือ
1. ไม่หยิบยื่นโทรศัพท์มือถือ หรือซื้อมือถือให้ลูก ในวัยที่ยังไม่มีความเหมาะสม พ่อแม่ต้อรู้จักกำกับห้ามใจตนเองที่จะไม่หยิบยื่นมือถือให้ลูกโดยง่ายๆ เพราะเมื่อให้ไปแล้วจะไม่สามารถห้ามปรามอะไรได้อีก หรือ ก็จะทำได้ยาก เสมือนปล่อยเสีอเข้ารกเข้าป่าลึกยากที่จะแก้ไขปัญหา
2. คุยกับ ครู ครูประจำชั้นที่โรงเรียนถึงจุดยืนและความไม่ต้องการให้ลูกมีมือถือ และไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรพร้อมกับบอกครูว่า อย่าสร้างเงื่อนไขในการเรียน การสั่งการบ้าน การทำรายงานให้กดดันเด็กเพื่อต้องการมีมือถือใช้ในการเรียนหรือเข้ากันกับเพื่อนๆ
3. พูดคุยกับผู้บริหารว่า การกลั่นแกล้งในโรงเรียนแตกต่างกับการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์อย่างไรและ(หากยอมไม่ให้เด็กไม่มีมือถือไม่ได้เสียแล้ว) ควรบอกผู้บริหารว่าทางโรงเรียนจำเป็นต้องอบรมให้ครูมีความรู้เรื่องการรับมือกับภัยจากสื่อออนไลน์การกลั่นแกล้งออนไลน์ และให้ครู มีความรู้ รับมือกับปัญหานี้ไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมและเข้าใจปัญหา อย่ามำให้ปัญหาจากการกลั่นแกล้งออนไลน์ลุกลามบานปลายไปมากยิ่งขึ้นอีก
4. พ่อแม่ พูดคุยกับเพื่อนๆ ของลูกกับพ่อแม่ผู้ปกครองของลูก ถึงภัยและผลกระทบของการกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยดีหากคุยไม่ได้กับพ่อแม่บางคน ที่ไม่สนใจใครฟัง และไม่ห้ามปรามลูกของตนเองก็ปล่อยให้โรงเรียน ครูประจำชั้น หรือ ผู้บริหารเป็นคนจัดการในเรื่องนี้
5. คุยกับลูกอย่างเปิดใจถึงเหตุผลและความจำเป็นของการไม่ให้มีมือถือ (เมื่ออายุยังไม่ถึง, จริงๆแล้วในอเมริกา กำหนดไว้ในกฎหมาย COPPA 1998 ว่าอายุที่ควรถึงเกณฑ์มีมือถือเป็นชื่อของตนเอง คือ 16ปีขึ้นไป แต่หากต่ำกว่านั้น เป็นวินิจฉัยของพ่อแม่ และ หากต่ำกว่า 13 ปีกฎหมายไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการหาสมาชิกเครือข่ายหรือให้บริการสำหรับผู้ใช้งานที่อายุน้อยกว่า13 ปีลงไป หากพบจะต้องทำการลบบัญชีโดยเด็ดขาดยกเว้นว่า ผู้ประกอบการถูกหลอกและให้ข้อมูลบิดเบือนจากผู้ใช้งานเอง)
ที่มา : https://www.facebook.com/time.chuastapanasiri