ประกาศการขึ้นค่าแรงจาก  300 เป็น  400 บาท ของรัฐบบาลโดยประกาศพร้อมกัน วันที่ 1  ตุลาคม 2567  กลายเป็นกระแสที่แรงมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชน ทั้งนี้สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ สมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น มากกว่า 95 สมาคม ได้ยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ต่อรมว.แรงงาน แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย

โดยให้เหตุผลว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษา และการรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2567 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีเป็นครั้งที่ 3

ประกาศการขึ้นค่าแรงจาก  300 เป็น  400 บาท ของรัฐบบาลโดยประกาศพร้อมกัน วันที่ 1  ตุลาคม 2567  กลายเป็นกระแสที่แรงมาก โดยเฉพาะภาคธุรกิจเอกชน ทั้งนี้สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ สมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น มากกว่า 95 สมาคม ได้ยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ต่อรมว.แรงงาน แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย

โดยให้เหตุผลว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษา และการรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2567 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีเป็นครั้งที่ 3

พร้อมกระทั่งตอนนี้มีข้อมูลที่สำคัญจาก สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ระบุว่า

ปี 2566 มีสถานประกอบการประมาณ 8 แสนกิจการ ในจำนวนดังกล่าวเป็นโรงงานอุตสาหกรรม 72,699 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยและ SMEs ที่มีสัดส่วนถึง 90% แสดงให้เห็นถึงผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่ใช้แรงงานเข้มข้น ขาดนวัตกรรมและแบรนด์ เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างการผลิต มีความอ่อนไหวต่อต้นทุน การปรับค่าจ้าง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ พบว่าค่าเฉลี่ยการปรับขึ้นอยู่ที่ 15% เกือบครึ่งหนึ่งจะกระจุกอยู่ในช่วงอัตราค่าจ้างวันละ 340-350 บาท ซึ่งจะทําให้อัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1,650 บาท หากมีแรงงาน 200 คน ค่าจ้างจะปรับเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 4 ล้านบาทต่อปี สําหรับรายใหญ่คงเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ SMEs เป็นเรื่องที่ใหญ่มีความสําคัญต่อความอยู่รอด

กระนั้นก็ตาม ทั้งหอการค้าและสมาคมการค้า ก็เห็นด้วยกับการมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลที่จะยกระดับรายได้เพื่อแรงงานไทยในประเทศไทย และวิถีชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น แต่การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี ควรปรับตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ส่วนการยกระดับรายได้ลูกจ้างให้สูงขึ้นก็สามารถทำได้ โดยกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งกฎหมายบัญญัติกำหนดไว้แล้วเช่นกัน

ขณะที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ การปรับอัตราจ้างจึงควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

Reskill คือ การเปลี่ยนหรือเพิ่มทักษะใหม่ เพื่อยกระดับบุคลากรในองค์กรให้สามารถทำงานกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเข้ามาแย่งงานทำให้เกิดอัตราการว่างงานสูงขึ้น หากไม่มีการ Reskill เพื่อเพิ่มพูนทักษะใหม่ ๆ ให้เท่าทันก็จะทำให้กลายเป็นบุคคลว่างงานเพราะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดได้ 

ดังนั้น ในมุมมองของผู้ประกอบการภาคเอกชนจึงความเห็นกันว่า รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน ให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ซึ่งหลายอุตสาหกรรมก็ให้ค่าแรงมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับแรงงานที่มีทักษะสูง ถ้าฝีมือการทำงานดี ก็ต้องได้ค่าจ้างมากเป็นเงาตามตัว

source : E-news

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *