งาน AI กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งหลักสูตรที่ขยายขอบเขตออกจากสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Science ซึ่งจะเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างเช่น Machine Learning, Computing Algorithms, Data Analytics และ Advanced Robotics
โดยที่ผ่านมา นับเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่เมื่อมหาวิทยาลัยในไทยเปิด หลักสูตร AI ก็มักจะมีการวางแผนหลักสูตรร่วมกับภาคเอกชน เพื่อผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละด้านให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนแนวทางการศึกษาใหม่ในรูปแบบของ Demand driven คือ การเปิดหลักสูตรที่เน้นผลิตกำลังคนให้มีทักษะสูง มีความพร้อมในการทำงานตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุด
Block Modular Program หรือการเขียนโปรแกรมแบบโมดูลาร์หมายถึงแนวทางในการเขียนโปรแกรมโดยแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อยๆที่เรียกว่าโมดูล (Modules) หรือบล็อก (Blocks) ซึ่งแต่ละโมดูลจะทำงานอย่างอิสระและมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง การออกแบบลักษณะนี้ช่วยให้โปรแกรมมีความยืดหยุ่นง่ายต่อการดูแลและแก้ไขในอนาคต
ลักษณะเด่นของ Block Modular Program
แบ่งแยกหน้าที่ (Separation of Concerns):
แต่ละโมดูลจะทำหน้าที่เฉพาะ เช่น คำนวณ, แสดงผล, หรือจัดการข้อมูล
ลดความซับซ้อนของโปรแกรมโดยรวม
ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability):
โมดูลที่เขียนไว้สามารถนำกลับมาใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องเขียนใหม่
การบำรุงรักษาและปรับปรุงง่าย (Maintainability):
หากต้องการแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรม เพียงปรับเปลี่ยนเฉพาะโมดูลที่เกี่ยวข้องโดยไม่กระทบส่วนอื่น
การพัฒนาแบบร่วมมือ (Collaborative Development):
ทีมพัฒนาสามารถแบ่งงานเป็นส่วนย่อย ๆ ทำงานพร้อมกันในแต่ละโมดูล
ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย และเน้นทักษะการทำงาน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ IT infrastructure, AI และ Cloud solutions เพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดในการทำงาน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งจุดนี้ขอบอกว่าเป็นจุดที่น่าสนใจมากๆ เพราะสามารถเรียนไปพร้อมกับทำงานได้เลย และยังจัดโมดูลไว้อย่างน่าเรียน ซึ่ง Block Modular Program นี้ จะประกอบไปด้วยการพัฒนาทักษะ 6 ด้าน คือ
1. ด้านหลักการทางวิศวกรรม (Core Engineering Principles)
2. ด้านการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดด้วยปัจจัยทางการเงิน (Smart Decision with Money Matter)
3. ด้านความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology Proficiency)
4. ด้านการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Entrepreneurship and Innovation)
5. ด้านการทำงานร่วมกันแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Collaboration)
6. ด้านการเริ่มทำธุรกิจ Startup ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-World Startup Platform)
และบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ ด้วยความรู้ที่เรียนอย่างหลากหลาย ก็สามารถนำความรู้ไปใช้ทำงานได้หลากหลายเช่นกัน
1. ด้านการเงิน เช่น นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นักบริหารความเสี่ยง นักวิเคราะห์สินเชื่อ นักวิจัยการเงิน เป็นต้น
2. ด้านการตลาด เช่น นักวิเคราะห์และวิจัยการตลาด ผู้บริหารโครงการ ผู้บริหารการจัดกิจกรรมทางการตลาด เป็นต้น
3. ด้านระบบสารสนเทศ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ ผู้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น
4. ด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น นักวางแผนทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาองค์กร นักวิเคราะห์และบริหารค่าตอบแทน เป็นต้น
5. ด้านบริหารปฏิบัติการ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ เจ้าหน้าที่บริหารคลังสินค้า เจ้าหน้าที่บริหารลูกค้า เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
6. ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า ผู้จัดการแผนกส่งออก ผู้จัดการแผนกนำเข้า-ส่งออก ผู้จัดการซัพพลายเชน
Source : Salika