แนวคิด Teach Less, Learn More (TLLM) เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาที่กล่าวว่า Thinking Schools, Learning Nation(TSLN) ซึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาเพื่อการ   จัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งThinking Schools เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด

บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More

ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach Lessแต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นหรือ Learn More นั่นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ปัจจัยสำคัญภายใต้แคมเปญ Life-Long Learning ในร่มธง Smart Nation คือโครงการ Skills Future Credit Skills Future Credit มีเป้าหมายเน้นให้ประชาชนมีทักษะการเรียนรู้ มากกว่าค่านิยมใบปริญญา

และที่สำคัญก็คือ จุดมุ่งหมายสูงสุดของ Skills Future Credit คือการเป็นเครื่องมือในการผลักดัน “สิงคโปร์” ไปสู่การเป็นประเทศ “เศรษฐกิจขั้นสูง”และมีความเป็น “สังคมเสมอภาค”

Skills Future Credit เกิดขึ้นเพื่ออุดช่องว่างทักษะอาชีพ หรือ Skill Gab โดยกำหนดให้ ประชาชนสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ได้รับ Skill Future Credit

เริ่มต้นค่าเรียนอยู่ที่ 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ โดยเงินจำนวนเหล่านี้ เป็นเงินให้เปล่าที่รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนไปเข้าคอร์สฝึกอบรมทักษะอาชีพซึ่งมีมากกว่า 12,500 หลักสูตร

ดังนั้น ทักษะที่จำเป็นของโครงการ Skill Future Credit จึงต้องสอดคล้องต้องกัน กับกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

ดังนี้ จึงมีการจัดแบ่งคอร์สทักษะออกเป็นกลุ่มๆ ประกอบด้วย

1. กลุ่ม product management

2. กลุ่ม operations planning and production

3. กลุ่ม manufacturing productivity and innovation

4. กลุ่ม quality management system

5. กลุ่ม leadership and people management

Skills Future Series ภายใต้โครงการ Skill Future Credit

โดย “สิงคโปร์” ได้จัดทำให้เกิดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับ “อุตสาหกรรมใหม่”

เน้นไปที่ 8 หมวดหมู่ชุดทักษะแห่งอนาคต อันประกอบไปด้วย

1. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

2. เทคโนโลยีทางการเงิน (Finance Technology: FinTech)

3. บริการด้านเทคโนโลยี (Tech-Enabled Services)

4. สื่อดิจิตอล (Digital Media)

5. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)

6. ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)

7. การผลิตขั้นสูง (Advanced Manufacturing)

8. การแก้ปัญหาของเมืองใหญ่ (Urban Solutions)

โครงการ Skill Future Credit อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต หรือ The Future Economy Council: FEC ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน

Cr: MTI GOV SG, Salika

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น